คุณยังไม่มีสินค้าในตะกร้า
อุปกรณ์หลักที่จำเป็นเเละระบบการทำงาน Water Cooling
ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบระบายความร้อนเเบบ Water Cooling นั้นมีอุปกรณ์หลักเเละอุปกรณ์เสริมอยู่หลายชิ้น ซึ่งอุปกรณ์หลักในระบบระบายความร้อนด้วยน้ำที่จำเป็นต้องใช้
เเต่ละชิ้นล้วนมีสำคัญจะขาดส่วนประกอบชิ้นหนึ่งไปไม่ได้ หากต้องการที่จะใช้คอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ Water Cooling ก็จะต้องมีอุปกรณ์ชุดน้ำให้ครบทั้งระบบ
ฉะนั้นเราไปรู้กันเลยว่าจะต้องมีอุปกรณ์ชิ้นไหนกันบ้าง
บล็อก CPU (Block CPU)
บล็อก CPU จะทำหน้าที่นำความร้อนออกจาก cpu โดยจะนำความร้อนผ่านหน้าสัมผัสของบล็อกตัวนั้น ซึ่งจะมีซิลิโคนเป็นตัวนำความร้อนระหว่างบล็อก cpu กับ ชิป cpu อีกทีนึง
ความร้อนจะไหลผ่านซิลิโคนมายังบล็อก cpu ในบล็อกจะมี fin ระบายความร้อนของบล็อก จะเป็นครีบเล็กๆเรียงกันเรียกว่า fin water block น้ำจะไหลผ่าน fin นี้เเละนำความร้อนออกไป
บล็อกตัวไหนจะเย็นหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความละเอียดของ fin นี้เเหละ โดยบล็อกเเพงๆ จะมีพินที่เล็กมากราว 0.2 มิลลิเมตร water block ที่มี fin เล็กมากเท่าไหร่
ก็จะมีพื้นที่ในการระบายความร้อนได้มากเท่านั้น เรียก fin ว่ายิ่งเล็กก็จะเย็นเลยทีเดียว
2. บล็อกการ์ดจอ (Water Block GPU)
บล็อกการ์ดจอ หลักการทำทำงานก็จะเหมือนกับ บล็อก cpu ทุกประการเเต่จะทำหน้าที่ระบายความร้อนของการ์ดจอ บล็อกการ์ดจอเเบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
บล็อกการ์ดจอเเบบฟลูบอร์ด (Full coverage) จะระบายความร้อนทั้งตัว PCB ของการ์ดจอ บล็อกประเภทนี้
จะมีราคาสูงประมาณ 3000-6000 บาทเเล้วเเต่รุ่นเเละแบรนด์ บล็อกการ์ดจอเเบบฟลูบอร์ดจะใช้ได้กับการ์ดจอรุ่นเดียวเท่านั้น
กล่าวคือบล็อกตัวนั้นๆจะออกเเบบมาเพื่อการ์ดจอตัวใดตัวหนึ่งโดยตรง ไม่สามารถนำไปใช้กับการ์ดรุ่นอื่นๆได้ แต่จะมีข้อยกเว้นหากเป็นการ์ดจอเป็นแบบ Founder Edition ซึ่งลายวงจร
PCB ของการ์ดจอชนิดนี้ จะนำไปใช้กับ การจอหลายรุ่น หลายแบรนด์ (เป็นการลดต้นทุนการออกเเบบการ์ดจอ) บล็อกการ์ดจอตัวนี้ก็ จะสามารถใช้ได้กับการ์ดจอ หลายรุ่น ซึ่งเราจะรู้ได้
ว่าการ์ดจอตัวไหนเป็นลายวงจร PCB แบบ Founder Edition ก็ต้องหาข้อมูลจากผู้ผลิตการ์ดจอหรือใช้วิธีเทียบเคียงลายวงจรกับการ์ดจอแบบ Founder Edition รุ่นต่อรุ่น ว่าลายวงจร PCB
เป็นตัวเดียวกัน หรือวงจรเหมือนกันหรือไม่
ท่านใดจะซื้อ Water Block GPU มาใช้ต้องเจาะจงซื้อให้ตรงรุ่นของท่าน หรือต้องมั่นใจว่าบล็อกการ์ดจอตัวนั้น สามารถใช้กับการ์ดจอท่านได้อย่างเเน่นอน มิเช่นนั้นท่านอาจจะเสียเงินปล่าว
หรือเสียเงินซื้อใหม่อีกครั้ง
บล็อกการ์ดจอเเบบ universal บล็อกประเภทนี้จะออกเเบบมาระบายความร้อนเฉพาะชิป GPU หรือเม็ดเเรมของการ์ดจอเท่านั้น จะไม่ได้ระบายความร้อนไปยังภาคจ่ายไฟของการ์ดจอ
ซึ่งถือเป็นจุดที่สร้างความร้อนให้การ์ดจอ บล็อกเเบบ universal มีขนาดเล็กกว่าเเบบฟลูบอร์ด หาซื้อได้ง่ายกว่า ราคาไม่เเเพง เเละสามารถใช้ได้หลายรุ่น แต่มีประสิทภาพการระบายความร้อน
ไม่ดีเท่าบล็อกเเบบฟลูบอร์ด (Full coverage) ปัจจุบันบล็อกเเบบ universal ไม่มีจำหน่ายแล้ว หรือมีน้อยมากๆ เนื่องจากระบายความร้อนไม่ดีเท่าที่ควร
3. ปั๊มน้ำ (Pump)
ปั๊มน้ำจะทำหน้าที่ดูดน้ำในเเทงค์น้ำมายังปั๊ม โดยภายในปั๊มจะมีใบพัดหมุนอยู่ด้านในตัวปั๊มพัดใบจะหมุดเร็วประมาณ 3000 รอบ/นาที- 6500 รอบ/นาที เเล้วเเต่รุ่นปั๊ม ปั๊มน้ำจะดันน้ำออกจากปั๊ม
ผ่านไปยังอุปกรณ์ชิ้นต่อไปของลูป จะเป็น บล็อก cpu บล็อก gpu หรือ หม้อน้ำ ก็เเล้วเเต่การออกแบบ ไม่มีรูปเเบบตายตัว ขึ้นอยู่กับการคิดทางน้ำของช่างผู้ติดตั้งเครื่องนั้นๆ
โดยปั๊มที่ใช้กันโดยทั่วไปจะดูดน้ำได้ตั้งเเต่ 450 ลิตร/ชั่วโมง -1500 ลิตร/ชั่วโมง ก็เเล้วเเต่รุ่นของปั๊มน้ำ
โดยปั๊มรุ่นยอดนิยมจะมีด้วยกัน 2 รุ่น คือ D5 และ DDC ทั้ง 2 รุ่นผลิตและออกแบบโดย LAING
ซื่งเป็นปั๊มที่คิดค้นมาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท เช่น เครื่องมือทางการแพทย์ ฮีตเตอร์ทำความร้อนภายในบ้าน เก้าอี้ทำฟัน เครื่องพ่นสารเคมีการเกษตร ระบบหล่อเย็นรถไถ
ระบบโซล่าเซลล์ และอีกหลายวงการ
โดยแบรนด์ที่ได้นำ Pump D5 และ DDC มาใช้ในระบบระบายความร้อนคอมพิวเตอร์เป็นเจ้าแรกคือ Swiftech และได้ใช้ชื่อปั๊มน้ำรุ่นนี้ว่า Swiftech MCP655
ทำให้ผู้เล่นชุดน้ำบางท่านยังพูดติดปากว่า Pump 655 มาถึงปัจจุบัน แต่จริงๆควรเรียกว่า Pump D5 จะเป็นชื่อที่ถูกต้องกว่าในส่วนของความแรงของปั๊ม หากระบบของเราไม่ได้ใหญ่มาก
ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ปั๊มที่มีเเรงดันมากนัก ปั๊มเเรงเกินความจำเป็นก็ไม่ได้ช่วยทำให้ระบบเย็นขึ้นครับ เลือกรุ่นที่พอดีๆกับความต้องการจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้ส่วนหนึ่ง
แต่หากไม่สนเรื่องงบในการประกอบชุดน้ำ ปั๊มที่เราแนะนำและควรเลือกใช้ที่สุดจะเป็นรุ่น Pump D5 รองลงมาเป็นรุ่น DDC เพราะทั้ง 2 รุ่น สามารถใช้งานไดเยาวนาน ทนทาน
และเป็นปั๊มที่เงียบและนิยมที่สุดในตลาดชุดน้ำปัจจุบัน
4. เเทงค์ (Reservoir)
เเทงค์หรือเรียกอีกอย่างว่าถังพักหน้าที่ของเเทงค์ก็ตามชื่อเลยครับคือจะทำหน้าที่พักน้ำก่อนที่จะถูกดูดเข้าไปในปั๊ม ต่ำเเหน่งการการวางเเทงค์คือไม่ว่าลูปน้ำจะเรียบง่ายหรือซับซ้อนขนาดไหน
เเทงค์ก็จะอยู่หน้าปั๊มเสมอครับ รูปทรงของเเทงค์จะมีหลายเเบบ ทั้งเเบบทรง 4 เหลี่ยมที่ไว้สำหรับติดตั้งไว้ในช่องเบย์ ของเครื่องเล่ยแผ่น DVD
หรือเเบบทรงกระบอกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งเเต่ 40 มิล- 65 มิลเเล้วเเต่ยี้ห้อจะเอาใหญ่หรือเล็กก็เเล้วเเต่จะเลือกใช้
เเทงค์ชุดน้ำในปัจจุบัน จะมีแทงค์ชนิดใหม่ ทำหน้าที่แทงค์พักน้ำและเป็นท่อไหลเวียนของน้ำ จะเรียกกันว่า Waterway Plate / Distribution Plate หรือ Distro Plate ชื่ออะไรก็ช่าง ก็แล้วแต่และแบรนด์จะเรียก แต่หน้าที่หลักๆของอุปกรณ์ตัวนี้จะทำหน้าที่ เก็บน้ำ และเป็นช่องทางไหลของน้ำ ทำหน้าที่เช่นเดียวกับแทงค์ทรงอื่นๆโดยจุดเริ่มต้นของ Waterway Plate แทงค์ชนิดใหม่นี้เกิดขึ้นโดย Daniel Bolognesi ส่วนในประเทศไทย ร้านที่ผลิตเจ้าแรกๆ คือร้าน HRC โดยการผลิต Waterway Plate โดยใช้เครื่อง มิลลิ่งและ CNC โดยเป็นงานสร้างสำหรับเครื่องนั้นๆทำขึ้นเครื่องต่อเครื่อง หลังจากนั้นแบรนด์ชุดน้ำต่างๆก็ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมใช้งานสำหรับเคสรุ่นต่างๆ สุดท้ายจะเลือกใช้แทงค์ทรงไหน ก็เลือก เอาตามชอบของลูกค้า หรือความเหมาะสมกับเคสนั้นๆ จะลงตัวที่สุด
5. ฟิตติ้ง (Fittings)
ฟิตติ้งคืออุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์หลักต่างๆเข้ากับสายยางหรือท่อ ซึ่งในตัวฟิตติ้งมีโอริงเป็นตัวกั้นน้ำไม่ให้รั่วซึม โดยทั่วไปที่ใช้กันจะมี 2 เเบบ คือ 1 เเบบ บาร์ป (Barb Fittings) หรือเเบบสวม คือจะสวมเข้าไปเลยเเบบนี้จะมีราคาถูกเเละมีโอกาสรั่วได้ง่ายกว่าเเบบที่ 2 คือ เเบบคอมเพรสชั่น (compression Fittings) เเบบนี้จะมี 2 ชิ้นเมื่อสวมท่อหรือสายยางเข้ากับฟิตติ้งเเล้วจะมีตัวประกบหมุนเข้าไปอีกที่นึง เเบบคอมเพสชั่นนี้จะมีความเเน่นสูงมากเรียกว่าโอกาสรั่วเเทบจะไม่มีเลย
ฟิตติ้ง จะแยกเป็น 2 ประเภท ตามรูปแบบท่อ
.ฟิตติ้งที่ใช้กับท่อแข็ง Hard Tube คือท่อชนิดที่ต้องตัดโค้งงอก่อนการติดตั้งจะมี 3 ขนาดหลักๆ 12mm 14mm 16mm ข้อดีของท่อแข็ง Hard Tube คือติดตั้งแล้วจะดูเป็นระเบียบ
สายงาม สายยางต้องเลือกขนาดที่ตรงกันไม่เช่นนั้นจะใส่กันไม่ได้
ฟิตติ้งที่ใช้กับสายยาง Soft Tube จะมี 3 ขนาด คือ 1.ID3/8 OD1/2 (ขนาดเล็ก) 2.ID3/8 OD5/8 (ขนาดกลาง) 3.ID3/8 OD3/4 (ขนาดใหญ่)
ข้อดีของสายยางคือจะไม่ต้องงอหรือดัดท่อก่อนการติดตั้ง ไม่ต้องใช้เครื่องมือดัดท่อหรืออุปกร์ติดตั้งมากมาย แค่ตัดสายยางแล้วเสียบกับฟิตติ้งก็ติดตั้งชุดน้ำได้ทันที
ฟิตติ้งของสายยางต้องเลือกตามขนาดของสายยางนั้นๆ ดังนั้นควรเลือกซื้อฟิตติ้งกับสายยางที่มีขนาดเท่ากัน
6. สายยาง เเละ ท่อ (Tubing)
สายยางเเละท่ออะคริลิค จะเป็นตัวทางเดินน้ำ น้ำจะไหลอยู่ภายในท่อหรือสายยางนี้ โดยที่ปลายท่อของสายยางจะต่อใว้กับฟิตติ้ง ทั้งท่อเเละสายยางเองก็มีขนาดที่หลากหลาย โดยสายยางจะมี ขนาด 3/8 7/16 1/2 ส่วนท่ออะคริลิคจะมีขนาดตั่งเเต่ 12 มิล 14 มิล 16 มิล โดยนักโมเคสบางท่านจะดัดเเปลงใช้ท่อทองเเดงหรือท่อสเเตนเลสก็ได้ เเต่เวลาดัดท่อก็จะต้องใช้อุปกรณ์ดัดท่อทองเเดง (เบนเดอร์) หากท่านที่ไม่อยากดัดท่อก็ใช้ข้องอเเทนก็หมดปัญหา ส่วนท่ออะคริลิคจะใช้ปืนเป่าลมร้อนดัดเอาครับ อ่านเพิ่มเติม
7. หม้อน้ำ (Radiater)
หม้อน้ำทำหน้าที่ขจัดความร้อนออกจากระบบเรียกได้ว่าหม้อน้ำเป็นพระเองของงานเลยก็ว่าได้ หลักการทำงานของหม้อคือน้ำจะเข้าทางรูเข้าของหม้อน้ำเเละไหลผ่านทางช่องทางน้ำในหม้อน้ำ ข้างๆช่องทางน้ำนั้นจะมีครีบระบายความร้อนอยู่ จะทำจากโลหะที่ถ่านเทความร้อนได้ดี ในขณะเดียวกันก็มีพัดลมเป่าอัดลงไปที่ตัวหม้อน้ำเพื่อเเลกเปลี่ยนความร้อนออกไปยังอากาศ หม้อน้ำส่วนใหญ่ทำจาก อลูมิเนียม ทองเหลือง ทองเเดง เรียงตามความเย็นเลยครับ มีหน่อยวัดเป็นตอนตามภาษาที่ใช้กัน เเบบใช้พัดลม 120mm 120 คือ 1ตอน 240 คือ 2ตอน 360 คือ 3ตอน เเบบใช้พัดลม 140mm 140 คือ 1ตอน 280 คือ 2ตอน เป็นต้น
8. พัดลม (Fan)
พัดลมจะทำหน้าที่เป่าอัดอากาศลงไปที่หม้อน้ำเพื่อพัดความร้อนออกไปจากหม้อน้ำ โดยพัดลมจะเย็นหรือไม่เย็นนั้นจะขึ้นอยู่กับความเร็วรอบของพัดลม โดยพัดลมที่นิยมใช้กันจะมีรอบตั้งเเต่ 1200-2000 รอบต่อนาทีเเล้วเเต่ยี้ห้อหรือรุ่นนั้นๆยิ่งรอบจัดจะยิ่งเย็น เเต่ก็ต้องเเลกมาด้วยเสียงที่ดังขึ้น พัดลมจะมีขนาดที่ใช้กันตั้งเเต่ 80mm 120mm 140mm 180mm โดยที่นิยมใช้กันที่สุดคือขนาด 120mm เเละ 140mm เป็นต้น
9. น้ำหล่อเย็น (Coolant)
น้ำหล่อของชุดน้ำที่ใช้กันหลักๆอยู่ 2 เเบบคือ เเบบที่ 1 เเบบ uv คือเป็นน้ำที่เมื่อโดนเเสง uv (เเสงเเบบเดียวกับที่ใว้ตรวจเเบงค์ปลอม) ก็จะเปล่งเเสงออกมาก เเบบที่ 2 คือเเบบพาสเทล (pastel) คือสีจะออกอ่อนๆมีสีขุนๆน้ำเเบบพาสเทลเมื่อโดนไฟจะไม่เปล่งเเสงออกมา น้ำหล่อเย็นที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีทั้งเเบบเข้มข้มเวลาที่จะใช้ต้องน้ำมาผสมกันน้ำกลั่นก่อนเพื่อให้น้ำไม่เข้นจนเกินไปจึงจะนำมาใช้ได้ อีกเเบบคือเเบบผสมน้ำกลั่นมาเเล้วสามารถใช้งานได้เลย น้ำหล่อเย็นเกรดดีๆจะไม่นำไฟฟ้า
หลักการทำงานของระบบ (ในกรณีวนลูปเฉพาะ cpu)
หลักการทำงานของระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ Water Cooling เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ปั๊มจะทำงานใบพัดในปั๊มจะหมุนทำให้ดูดน้ำในเเทงค์ลงมายังปั๊ม เเรงดันน้ำของปั๊มจะดันน้ำไปยังบล็อกcpu เมื่อน้ำไหลเข้าไปในบล็อกcpu ผ่านทางรูน้ำเข้าของบล็อก น้ำจะไหลเข้าไปในช่องเล็กๆของพินของบล็อกcpu ระหว่างนี้น้ำจะดึงความร้อนออกจากบล็อก เเล้วน้ำร้อนก็ไหลออกทางรูน้ำออกของบล็อกไหลต่อมายังหม้อน้ำ ผ่านทางรูน้ำเข้าของหม้อน้ำ ไหลต่อไปยังช่องทางน้ำเล็กๆในหม้อน้ำ ระหว่างเดียวกันพัดลมก็เป่าอัดอากาศปะทะกับหม้อน้ำเเละพัดพาอากาศที่ร้อนออกไปยังนอกเคส เมื่อน้ำไหลออกจากหม้อน้ำซึ่งเมื่อผ่านระบวนการนี้น้ำจะถูกระบายความร้อนจากน้ำออกไปจนกลายเป็นน้ำเย็นเเล้ว น้ำเย็นก็จะไหลเข้าไปเก็บในเเทงค์ตามเดิมครบ 1 ลูป การทำงาน จะวนเเบบนี้ไปตลอดที่เครื่องทำงานครับ เมื่อเข้าใจทั้งระบบการทำงานเเละอุปกรณ์ที่จำเป็นเเล้ว สามารถเลือกซื้อสินค้าได้ที่เมนูหมวดหมู่สิ้นค้าด้านซ้ายเลยครับ ขอบคุณครับ
Admin
คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนโพส
คลิกที่นี่ to log in